เปิดโอกาสการส่งออกมะม่วงไทย ช่วยเกษตรกรกว่า 200,000 ครัวเรือน
กรุงเทพฯ 27 ธันวาคม 2564 – สมาคมชาวสวนมะม่วง สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ร่วมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีหารือสาธารณะเพื่อพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วง ในหัวข้อ “การขยายตัวตลาดใหม่ของมะม่วงไทย” ภายใต้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและโควิด 19 ช่วยเกษตรกรชาวสวนมะม่วงกว่า 200,000 ครัวเรือนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสร้างรายได้และสร้างเม็ดเงินให้ย้อนกลับมาพัฒนาประเทศ สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนไทยอีกครั้ง
นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีที่มีแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ และสามารถเพาะปลูกพืชได้หลากหลายชนิด รวมทั้ง มะม่วงไทย ผลไม้ที่เป็นความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 6 ของโลก จนช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตหลายด้าน และมีความรุนแรงขึ้นช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกากาศ ทำให้ตลาดต่างประเทศหยุดชะงัก การส่งออกน้อยลง และการขนส่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนผลผลิตเกิดภาวะล้นตลาด รายได้สวนทางกับรายจ่าย ไม่คุ้มทุน และคุณภาพชีวิตเกษตรกรตกต่ำอีกด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ร่วมทำงานบูรณาการ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ดำเนินมาตรการเชิงรุก เพื่อจัดการปัญหาราคาผลไม้ และการส่งออกผลไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปี 2565 นี้ ได้เตรียมมาตรการเชิงรุก 18 มาตรการ เพื่อเข้ามาแก้วิกฤตให้ชาวสวนมะม่วงกว่า 200,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ ประกอบด้วยมาตรการด้านการผลิต มาตรการด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ มาตรการด้านการสร้างความเชื่อมั่น รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ อาทิ การเร่งรัดตรวจและรับรองปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) การช่วยเกษตรกร ผู้ประกอบการ ล้ง กระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท การเสริมสภาพคล่องผู้ส่งออก การสนับสนุนให้ทำเกษตรพันธสัญญาซื้อขายล่วงหน้า/สัญญาข้อตกลง การส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ การสนับสนุนกล่องพร้อมค่าจัดส่งผลไม้จากเกษตรกรกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรง การสนับสนุนรถเร่ รถโมบาย (Mobile) ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง การประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันเพื่อเปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกร การทำเซลล์โปรโมชั่นส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศ (จัดงาน Thai Fruits Golden Months) การเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์ การส่งเสริมการส่งออกผลไม้ในรูปแบบพันธุ์ผสม (Hybrid Line) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย 5 ภาษาเผยแพร่ในหลากหลายประเทศทั่วโลก การอบรมให้ความรู้เกษตรกร การขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องผ่อนปรนการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาค การกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้ การมีทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเร่งรัดการเปิดด่านชายแดน ทั้ง 9 ด่าน ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อช่วยกระจายผลไม้ไปยังต่างประเทศมากขึ้น
นายนราพัฒน์ กล่าวต่อว่า ด้วยแผนการทางานของภาครัฐที่กล่าวมานี้ จะช่วยส่งเสริมแนวทางขับเคลื่อนของสมาคมชาวสวนมะม่วง โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชนในการวางนโยบายให้สอดคล้องกับผลผลิตมะม่วงไทยที่จะเกิดในฤดูกาลหน้าให้สอดคล้องกับความต้องการของชาวสวนมากที่สุดจนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
นายสายันต์ บุญยิ่ง นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย กล่าวว่า สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย เป็นสถาบันเกษตรกรของชาวสวนมะม่วงที่มีความเข้มแข็งทั่วประเทศ ควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งออก มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเช่นการผลิตมะม่วงนอกฤดูรวมทั้งการนำเอาเกษตรดีที่เหมาะสม ( GAP ) มาใช้ในการปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างจริงจัง ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวนกว่า 76 กลุ่ม จาก 26 จังหวัด สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวสวน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ชาวสวนสามารถส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศรวมกันเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท แม้ปริมาณการส่งออกแต่ละปี คิดเป็นเพียงร้อยละ 2% ของผลผลิตทั้งหมดก็ตาม แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ มีอัตราการขยายตัวของพื้นที่และการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการระบาดของโควิด 19 ทำให้การผลิตประสบปัญหา ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ซ้ำเติมด้วยต้นทุนปัจจัยการผลิตในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“คณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหา สาเหตุ แนวทางการแก้ไขปัญหา และทางออกร่วมกันหลายต่อหลายครั้ง จึงได้ข้อสรุปว่า การพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตของชาวสวนให้กลับคืนมา ไม่สามารถทำให้ลุล่วงได้ตามลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน โดยทางสมาคมฯ ได้จัดการประชุมหารือกันภายในกลุ่มสมาชิก เปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาส เปิดเวทีจัดเสวนาหารือสาธารณะ เพื่อพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วง หัวข้อ “การขยายตัวตลาดใหม่ของมะม่วงไทย” คาดหวังการเสวนานี้จะนำไปสู่ทางออกในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวสวนฯ ทำให้มะม่วงไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงด้านการตลาดที่สำคัญเพื่อให้มะม่วงไทยมีชื่อเสียงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แบบยั่งยืน และเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพื่อช่วยพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วงกว่า 2 แสนครัวเรือนตามเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้” นายสายันต์กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้สนใจขอข้อมูลด้านเกษตร และข้อมูลของโครงการพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วงสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย https://www.facebook.com/MangoAssociation/ โทรศัพท์ 05-690-5236 และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/taitacroplifethailand
นายสายันต์ บุญยิ่ง นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย กล่าวว่า สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย เป็นสถาบันเกษตรกรของชาวสวนมะม่วงที่มีความเข้มแข็งทั่วประเทศ ควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการส่งออก มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเช่นการผลิตมะม่วงนอกฤดูรวมทั้งการนำเอาเกษตรดีที่เหมาะสม ( GAP ) มาใช้ในการปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างจริงจัง ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวนกว่า 76 กลุ่ม จาก 26 จังหวัด สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวสวน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ชาวสวนสามารถส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศรวมกันเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท แม้ปริมาณการส่งออกแต่ละปี คิดเป็นเพียงร้อยละ 2% ของผลผลิตทั้งหมดก็ตาม แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ มีอัตราการขยายตัวของพื้นที่และการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการระบาดของโควิด 19 ทำให้การผลิตประสบปัญหา ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ซ้ำเติมด้วยต้นทุนปัจจัยการผลิตในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“คณะกรรมการสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหา สาเหตุ แนวทางการแก้ไขปัญหา และทางออกร่วมกันหลายต่อหลายครั้ง จึงได้ข้อสรุปว่า การพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตของชาวสวนให้กลับคืนมา ไม่สามารถทำให้ลุล่วงได้ตามลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน โดยทางสมาคมฯ ได้จัดการประชุมหารือกันภายในกลุ่มสมาชิก เปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาส เปิดเวทีจัดเสวนาหารือสาธารณะ เพื่อพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วง หัวข้อ “การขยายตัวตลาดใหม่ของมะม่วงไทย” คาดหวังการเสวนานี้จะนำไปสู่ทางออกในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวสวนฯ ทำให้มะม่วงไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงด้านการตลาดที่สำคัญเพื่อให้มะม่วงไทยมีชื่อเสียงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แบบยั่งยืน และเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพื่อช่วยพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วงกว่า 2 แสนครัวเรือนตามเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้” นายสายันต์กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้สนใจขอข้อมูลด้านเกษตร และข้อมูลของโครงการพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวสวนมะม่วงสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย https://www.facebook.com/MangoAssociation/ โทรศัพท์ 05-690-5236 และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/taitacroplifethailand
No comments:
Post a Comment