“โฆษก เสมา 2” เผยผลสำรวจครูทั่วประเทศ ปี 2564 ชื่นชมนโยบายคุณหญิงกัลยาเด่นสุดเรื่องขับเคลื่อน Coding มากสุด และเป็นนักพัฒนา ปฏิรูปการศึกษา - Thailand Smart Content

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, December 28, 2021

“โฆษก เสมา 2” เผยผลสำรวจครูทั่วประเทศ ปี 2564 ชื่นชมนโยบายคุณหญิงกัลยาเด่นสุดเรื่องขับเคลื่อน Coding มากสุด และเป็นนักพัฒนา ปฏิรูปการศึกษา











“โฆษก เสมา 2” เผยผลสำรวจครูทั่วประเทศ ปี 2564 ชื่นชมนโยบายคุณหญิงกัลยาเด่นสุดเรื่องขับเคลื่อน Coding มากสุด และเป็นนักพัฒนา ปฏิรูปการศึกษา




วันที่ 29 ธันวาคม 2564--“ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย” โฆษก รมช.ศธ.ดร.คุณหญิงกัลยา เผยว่าปี 2564 สำรวจนโยบายคุณหญิงกัลยาพบ Coding โดดเด่น โดนใจครูรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจตอบรับเป็นอย่างดีพร้อมเปิดผลสำรวจ ศูนย์บริการวิชาการ “นิด้า” ให้คุณหญิงกัลยาเด่นสุดในเรื่องการขับเคลื่อน Coding พัฒนาและปฏิรูปการศึกษา ชี้คนส่วนใหญ่รับรู้โครงการหรือกิจกรรมด้าน Coding โดยเฉพาะเรื่องการอบรมครูและหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษา

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) กล่าวว่า ตลอดปี 2564 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการขับเคลื่อนนโยบายหลายส่วน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานการศึกษาไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะเรื่องการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ซึ่งคุณหญิงกัลยาเป็นผู้นำนโยบาย Coding ให้เป็นนโยบายรัฐบาล และผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติจนเกิดคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ ถือเป็นนโยบายที่ปฏิรูปโดยตรงถึงเยาวชนไทย และเป็นการวางรากฐานไปสู่การจัดการเรียนรู้แบบใหม่แบบฐานสมรรถนะ Coding ยังได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมไปถึงสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง จนขยายผลออกไปในวงกว้าง







ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนนโยบายภายใต้ความรับผิดชอบของคุณหญิงกัลยา มีประเด็นที่มีความก้าวหน้าหลายเรื่อง โดยเฉพาะนโยบาย Coding ที่แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ก็ตาม แต่ก็ได้รับความสนใจ มีการจัดอบรมครู ซึ่งประสบความสำเร็จมาก มีครูสนใจสมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 2 แสนคน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทั้งประเทศมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ Coding ทั้งในภาคการศึกษา และอีกหลาย ๆ ภาคส่วน ภายใต้แนวคิด Coding for All

สำหรับการขับเคลื่อนนโยบาย Coding ในปี 2564 นอกจากจะได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนแล้วศูนย์บริการวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการขับเคลื่อนนโยบาย Coding จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 4 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ รวม 20 จังหวัด โดยทำการส่งแบบสำรวจผ่าน E-mail จำนวน 4,875 ราย มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 476 ราย คิดเป็นระดับความเชื่อมั่นของผลสำรวจร้อยละ 95.57

นางดรุณวรรณ ได้เปิดเผยว่า ศูนย์บริการวิชาการ “นิด้า” ได้สำรวจความคิดเห็นการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ใน 8 ประเด็นคือ 1.การรับรู้โครงการหรือกิจกรรมด้าน Coding 2.การรับรู้เกี่ยวกับ Coding 3.ระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Coding 4.ระดับความคิดเห็นต่อการนำเรื่อง Coding มาใช้ 5.ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับ Coding ที่ไทยจะนำมาใช้ในระบบการศึกษา 6.ประโยชน์และความต้องการการสนับสนุนต่อการนำเรื่อง Coding มาพัฒนาใช้ในระบบการศึกษา 7.ช่องทางการสื่อสารที่ต้องการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้าน Coding และ 8.ระดับความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าของกระทรวงศึกษาธิการ ท้ายที่สุดคือการสอบถามเรื่องจุดเด่นของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ผลสำรวจความคิดเห็น พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจให้ความเห็นต่อจุดเด่นของดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช คือ การขับเคลื่อน coding มากที่สุด ร้อยละ 27.68 รองลงมาได้แก่ พัฒนาและปฏิรูปการศึกษา

“คุณหญิงกล่าวย้ำเสมอว่า COVID cannot stop CODING นั่นคือ แม้จะมีสถานการณ์การระบาดโควิดก็ไม่สามารถหยุดการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องโค้ดดิ้งได้ ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาตื่นตัวในการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้นักเรียนมีกระบวนการคิดอย่างมีลำดับขั้นตอน เป็นระบบ พัฒนาทักษะการคิดในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถปรับการเรียนรู้ได้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ด้านกระบวนการคิดและวางแผนส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกเรื่องภายใต้แนวทาง Coding for All” นางดรุณวรรณ กล่าว



No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad




Pages