คปภ. ถกภาคอุตสาหกรรมประกันภัย
เร่งออก 10 มาตรการเพิ่มเติม ลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
คปภ. เดินหน้าเต็มสูบ ถกภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เร่งออก 10 มาตรการเพิ่มเติม เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
เร่งออก 10 มาตรการเพิ่มเติม ลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
คปภ. เดินหน้าเต็มสูบ ถกภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เร่งออก 10 มาตรการเพิ่มเติม เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยมี ศูนย์กลางการแพร่ระบาด ณ เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการกำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการในการดูแลช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 Coronavirus (2019-nCoV) อย่างต่อเนื่อง ไปแล้ว นั้น
ปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าว ยังไม่คลี่คลายและส่งผลกระทบถึงภาคอุตสาหกรรมประกันภัยและภาคธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง ที่นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทาง
เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการลดจำนวนเที่ยวของการขนส่งสินค้า ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดประชุมหารือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ประกอบด้วย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกัน
วินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และสมาคมนายหน้าประกันภัย เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม โดยได้ข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ดังนี้
ปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าว ยังไม่คลี่คลายและส่งผลกระทบถึงภาคอุตสาหกรรมประกันภัยและภาคธุรกิจ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง ที่นักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทาง
เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการลดจำนวนเที่ยวของการขนส่งสินค้า ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดประชุมหารือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ประกอบด้วย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกัน
วินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และสมาคมนายหน้าประกันภัย เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม โดยได้ข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ดังนี้
มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมประกันภัยและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 1 จะออกคำสั่งนายทะเบียน เพื่อปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ใช้ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย โดยจากเดิมกำหนดที่อัตรามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 2 เป็นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 1 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 และสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
มาตรการที่ 2 จะออกคำสั่งนายทะเบียน เพื่อขยายระยะเวลาของมาตรการในคำสั่งนายทะเบียนที่ออกไปแล้วเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ดังนี้
ด้านการประกันชีวิต
1. ผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยขยายระยะเวลาผ่อนผันออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันเดิม
2. ยกเว้นดอกเบี้ยกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นผลบังคับ ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 หากผู้เอาประกันภัยขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือกลับคืนสู่สถานะเดิมของกรมธรรม์ประกันชีวิต ภายใน 6 เดือน
3. ผ่อนผันการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีนำมูลค่าเวนคืนมาชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ หรือมีการกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทอาจยกเว้นหรือปรับลดดอกเบี้ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
4. อนุญาตให้มีการผ่อนผันให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยในแต่ละงวด โดยไม่คิดดอกเบี้ย
เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีการเปลี่ยนแปลงงวดการชำระเบี้ยประกันภัยใดๆ ก็ตาม
หรือมีการชำระเบี้ยประกันภัยรายงวดที่น้อยกว่า 1 ปี โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงงวดการชำระเบี้ยประกันภัย
ในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
5. ขอความร่วมมือบริษัทประกันชีวิตให้ผ่อนคลายการกำหนดจำนวนเงินกู้ยืมตามกรมธรรม์ โดยให้มีการปรับเพิ่มเพดานขั้นสูงของจำนวนเงินกู้ยืมตามกรมธรรม์
6. ให้บริษัทประกันชีวิตสามารถลดอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพ ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเบี้ยประกันภัย กรณีทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และวันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยต้องไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2563
มาตรการที่ 1 จะออกคำสั่งนายทะเบียน เพื่อปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ใช้ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย โดยจากเดิมกำหนดที่อัตรามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 2 เป็นมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 1 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 และสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
มาตรการที่ 2 จะออกคำสั่งนายทะเบียน เพื่อขยายระยะเวลาของมาตรการในคำสั่งนายทะเบียนที่ออกไปแล้วเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ดังนี้
ด้านการประกันชีวิต
1. ผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยขยายระยะเวลาผ่อนผันออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันเดิม
2. ยกเว้นดอกเบี้ยกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตสิ้นผลบังคับ ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 หากผู้เอาประกันภัยขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือกลับคืนสู่สถานะเดิมของกรมธรรม์ประกันชีวิต ภายใน 6 เดือน
3. ผ่อนผันการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีนำมูลค่าเวนคืนมาชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ หรือมีการกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทอาจยกเว้นหรือปรับลดดอกเบี้ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
4. อนุญาตให้มีการผ่อนผันให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยในแต่ละงวด โดยไม่คิดดอกเบี้ย
เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีการเปลี่ยนแปลงงวดการชำระเบี้ยประกันภัยใดๆ ก็ตาม
หรือมีการชำระเบี้ยประกันภัยรายงวดที่น้อยกว่า 1 ปี โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงงวดการชำระเบี้ยประกันภัย
ในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
5. ขอความร่วมมือบริษัทประกันชีวิตให้ผ่อนคลายการกำหนดจำนวนเงินกู้ยืมตามกรมธรรม์ โดยให้มีการปรับเพิ่มเพดานขั้นสูงของจำนวนเงินกู้ยืมตามกรมธรรม์
6. ให้บริษัทประกันชีวิตสามารถลดอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพ ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเบี้ยประกันภัย กรณีทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และวันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยต้องไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2563
ด้านประกันวินาศภัย
1. ผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันสุขภาพ หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองเดียวกัน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยให้ขยายระยะเวลาผ่อนผันออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันครบระยะเวลาผ่อนผันเดิม
2. ผ่อนผันเงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันภัย โดยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวดได้ สำหรับการประกันภัยอัคคีภัย และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ที่กำหนดไว้ในรายงานสถิติธุรกิจประกันวินาศภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่มีการทำสัญญาหรือมีการชำระเบี้ยประกันภัยตามสัญญาในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
3. ให้บริษัทประกันวินาศภัยอาจเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองของการประกันภัยการเดินทางได้ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีกำหนดเดินทาง ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทาง ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัททราบก่อนวันเริ่มต้นความคุ้มครองเดิม
4. จะออกคำสั่งให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถลดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเบี้ยประกันภัย (สำหรับการประกันภัยอัคคีภัย และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ที่กำหนดไว้ในรายงานสถิติธุรกิจประกันวินาศภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) โดยต้องเป็นการทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และวันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ฯ ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ด้านคนกลางประกันภัย
1. ออกประกาศให้ตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกัน
วินาศภัย ที่ได้รับผลกระทบและใบอนุญาตฯ สิ้นอายุตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาขอต่ออายุใบอนุญาตได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563
2. ขอความร่วมมือตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ชะลอหรืองดการเข้าสอบหรือการเข้าอบรมตามหลักสูตรขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตฯ นับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
3. ให้ผู้เข้าสอบที่เดินทางกลับมา หรือเดินทางผ่าน หรือได้ทำกิจกรรมในระยะใกล้ชิด หรือ สัมผัสกับบุคคล
ที่เดินทางกลับมา หรือเดินทางผ่านจากประเทศหรือเขตปกครองที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ภายใน 14 วัน ก่อนวันสอบต้องยื่นขอเลื่อนสอบไปยังหน่วยงานจัดสอบหรือสำนักงาน คปภ.ตามที่ได้สมัครสอบไว้
มาตรการที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สำนักงาน คปภ. จึงมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
1. สำหรับกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับและรถยนต์ที่เอาประกันภัยนั้นไม่ได้มีการใช้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ผู้ประกอบการฯ สามารถแจ้งหยุดการใช้รถได้ โดยบริษัทผู้รับประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยในช่วงระยะเวลา
ที่หยุดให้แก่ผู้ประกอบการฯ หรือผู้ประกอบการฯสามารถตกลงกับบริษัทผู้รับประกันภัยเพื่อนำเบี้ยประกันภัยที่ได้รับคืนมาขยายระยะเวลาเอาประกันภัยได้
2. สำหรับกรมธรรม์ใหม่และกรมธรรม์ที่มีการต่ออายุ สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการออกมาตรการระยะสั้น ด้วยการออกคำสั่งนายทะเบียนให้บริษัทพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยอาจให้ส่วนลดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ของจำนวนเบี้ยประกันภัย
สำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทสำหรับการทำสัญญากับบริษัทประกันภัย ตั้งแต่วันที่มีผลบังคับตามคำสั่งนายทะเบียน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และปรับปรุงแก้ไขประกาศ คปภ./ข้อบังคับ ให้บริษัทพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยอาจผ่อนผันให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง แบ่งชำระเบี้ยประกันภัยรถยนต์เป็นรายงวดได้ สำหรับผู้ประกอบการฯ ที่มีการทำสัญญาหรือมีการชำระเบี้ยประกันภัยตามสัญญา ตั้งแต่วันที่มีผลบังคับตามคำสั่งนายทะเบียน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
มาตรการที่ 4 จัดทำแนวปฏิบัติ เรื่อง การจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการการรับมือเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID -19 ของบริษัทประกันภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ภาคธุรกิจไปปรับใช้ในการทบทวนและจัดทำแผน BCP ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์แต่ละระดับ
มาตรการที่ 5 ผ่อนผันการจัดส่งรายงานการดำรงเงินกองทุนประจำปี รายไตรมาส และรายเดือน รวมถึงกรอบและนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและแผนธุรกิจของบริษัทออกไปอีกไม่เกิน
30 วัน นับจากวันที่กำหนดให้ส่งรายงาน โดยให้บริษัทขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณี
มาตรการที่ 6 ผ่อนผันการยื่นรายงานทางการเงินของบริษัทประกันภัย โดยผ่อนผันให้ครั้งละไม่เกิน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด โดยให้บริษัทขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณี
มาตรการที่ 7 ผ่อนผันการยื่นงบการเงินและรายงานต่าง ๆ ของนายหน้าประเภทนิติบุคคล โดยผ่อนผันให้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนด โดยให้นายหน้าประเภทนิติบุคคลขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณี
มาตรการที่ 8 ให้นายหน้าประกันภัยประเภทนิติบุคคลต้องมีความพร้อมกรณีที่บริษัทประกันภัยคู่สัญญาประกาศใช้แผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
มาตรการที่ 9 ปรับแผนการตรวจสอบ โดยเน้นการตรวจสอบนอกที่ทำการบริษัท (off-site inspection) แทนการเข้าตรวจสอบ ณ ที่ทำการบริษัท (on-site inspection) เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของไวรัส
โควิด 19 และใช้เทคโนโลยีเข้าร่วมในการตรวจสอบ
มาตรการที่ 10 ผ่อนผันให้บริษัทสามารถขออนุญาตปิดที่ทำการติดต่อกับประชาชนบางพื้นที่หรือบางสาขา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19
ด้านนายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ทางสมาคมประกันวินาศภัยไทย
เห็นด้วยกับการที่สำนักงาน คปภ. ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาภาคอุตสาหกรรมประกันภัย โดยในช่วงที่มีการระบาดของโรคในระยะแรก ทุกภาคส่วนมีความห่วงใยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และได้ร่วมกันหารือ
เพื่อออกมาตรการต่าง ๆ เพราะการระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ไม่ได้กระทบเฉพาะในส่วนของผู้บริโภค แต่ยังรวมถึงผู้ประกอบการด้วย ซึ่งการประชุมในวันที่ 12 มีนาคม 2563 ได้มีการหารือมาตรการในการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับการผ่อนผันและมีแผนรองรับในการให้บริการประชาชน
ได้อย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการช่วยเหลือเยียวยาแบบครบวงจร
ด้านนายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย ให้ความเห็นว่า ในฐานะผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทย ขอขอบคุณ สำนักงาน คปภ.ที่ออกมาตรการด้านประกันภัยในมิติต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ สำนักงาน คปภ.ได้มีการปรับเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยไทยด้วยการเปิดกว้างให้บริษัทประกันภัยสามารถลงทุนได้หลากหลายสอดคล้องกับลักษณะของความเสี่ยงและภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัย ทำให้
ภาคธุรกิจประกันภัยปรับการลงทุนให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจกันบ้างแล้ว ดังนั้น การออกมาตรการด้านประกันภัย เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและภาคธุรกิจประกันภัยรวมไปถึงภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ทางสมาคมประกันชีวิตไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า การบริหารต้นทุนของภาคธุรกิจ
ถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น หากสำนักงาน คปภ. พิจารณามาตรการด้านการบริหารต้นทุน หรือการบังคับใช้กฎเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชี ไปด้วย ก็จะสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
“สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นอย่างยิ่ง จึงได้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนมาตรการด้านประกันภัยในการช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน และภาคธุรกิจอย่างเต็มที่ การประชุมครั้งนี้ เป็นการเติมเต็มมาตรการเสริมจากมาตรการที่เคยออกไปก่อนหน้านี้ โดยในครั้งนี้มุ่งไปที่การเยียวยาภาคธุรกิจประกันภัยและธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ขอย้ำว่ามาตรการที่กำหนดทุกมาตรการเป็นมาตรการระยะสั้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความยืดหยุ่นเพื่อรองรับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งสำนักงาน คปภ.จะ monitor สถานการณ์และ
ความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะทบทวนมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
1. ผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันสุขภาพ หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองเดียวกัน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยให้ขยายระยะเวลาผ่อนผันออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันครบระยะเวลาผ่อนผันเดิม
2. ผ่อนผันเงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันภัย โดยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวดได้ สำหรับการประกันภัยอัคคีภัย และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ที่กำหนดไว้ในรายงานสถิติธุรกิจประกันวินาศภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่มีการทำสัญญาหรือมีการชำระเบี้ยประกันภัยตามสัญญาในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
3. ให้บริษัทประกันวินาศภัยอาจเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองของการประกันภัยการเดินทางได้ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีกำหนดเดินทาง ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทาง ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัททราบก่อนวันเริ่มต้นความคุ้มครองเดิม
4. จะออกคำสั่งให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถลดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเบี้ยประกันภัย (สำหรับการประกันภัยอัคคีภัย และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ที่กำหนดไว้ในรายงานสถิติธุรกิจประกันวินาศภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) โดยต้องเป็นการทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และวันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ฯ ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ด้านคนกลางประกันภัย
1. ออกประกาศให้ตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกัน
วินาศภัย ที่ได้รับผลกระทบและใบอนุญาตฯ สิ้นอายุตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาขอต่ออายุใบอนุญาตได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563
2. ขอความร่วมมือตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ชะลอหรืองดการเข้าสอบหรือการเข้าอบรมตามหลักสูตรขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตฯ นับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
3. ให้ผู้เข้าสอบที่เดินทางกลับมา หรือเดินทางผ่าน หรือได้ทำกิจกรรมในระยะใกล้ชิด หรือ สัมผัสกับบุคคล
ที่เดินทางกลับมา หรือเดินทางผ่านจากประเทศหรือเขตปกครองที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ภายใน 14 วัน ก่อนวันสอบต้องยื่นขอเลื่อนสอบไปยังหน่วยงานจัดสอบหรือสำนักงาน คปภ.ตามที่ได้สมัครสอบไว้
มาตรการที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สำนักงาน คปภ. จึงมีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
1. สำหรับกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับและรถยนต์ที่เอาประกันภัยนั้นไม่ได้มีการใช้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ผู้ประกอบการฯ สามารถแจ้งหยุดการใช้รถได้ โดยบริษัทผู้รับประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยในช่วงระยะเวลา
ที่หยุดให้แก่ผู้ประกอบการฯ หรือผู้ประกอบการฯสามารถตกลงกับบริษัทผู้รับประกันภัยเพื่อนำเบี้ยประกันภัยที่ได้รับคืนมาขยายระยะเวลาเอาประกันภัยได้
2. สำหรับกรมธรรม์ใหม่และกรมธรรม์ที่มีการต่ออายุ สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการออกมาตรการระยะสั้น ด้วยการออกคำสั่งนายทะเบียนให้บริษัทพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยอาจให้ส่วนลดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ของจำนวนเบี้ยประกันภัย
สำหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทสำหรับการทำสัญญากับบริษัทประกันภัย ตั้งแต่วันที่มีผลบังคับตามคำสั่งนายทะเบียน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และปรับปรุงแก้ไขประกาศ คปภ./ข้อบังคับ ให้บริษัทพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยอาจผ่อนผันให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการขนส่ง แบ่งชำระเบี้ยประกันภัยรถยนต์เป็นรายงวดได้ สำหรับผู้ประกอบการฯ ที่มีการทำสัญญาหรือมีการชำระเบี้ยประกันภัยตามสัญญา ตั้งแต่วันที่มีผลบังคับตามคำสั่งนายทะเบียน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
มาตรการที่ 4 จัดทำแนวปฏิบัติ เรื่อง การจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการการรับมือเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID -19 ของบริษัทประกันภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ภาคธุรกิจไปปรับใช้ในการทบทวนและจัดทำแผน BCP ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์แต่ละระดับ
มาตรการที่ 5 ผ่อนผันการจัดส่งรายงานการดำรงเงินกองทุนประจำปี รายไตรมาส และรายเดือน รวมถึงกรอบและนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและแผนธุรกิจของบริษัทออกไปอีกไม่เกิน
30 วัน นับจากวันที่กำหนดให้ส่งรายงาน โดยให้บริษัทขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณี
มาตรการที่ 6 ผ่อนผันการยื่นรายงานทางการเงินของบริษัทประกันภัย โดยผ่อนผันให้ครั้งละไม่เกิน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด โดยให้บริษัทขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณี
มาตรการที่ 7 ผ่อนผันการยื่นงบการเงินและรายงานต่าง ๆ ของนายหน้าประเภทนิติบุคคล โดยผ่อนผันให้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนด โดยให้นายหน้าประเภทนิติบุคคลขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณี
มาตรการที่ 8 ให้นายหน้าประกันภัยประเภทนิติบุคคลต้องมีความพร้อมกรณีที่บริษัทประกันภัยคู่สัญญาประกาศใช้แผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
มาตรการที่ 9 ปรับแผนการตรวจสอบ โดยเน้นการตรวจสอบนอกที่ทำการบริษัท (off-site inspection) แทนการเข้าตรวจสอบ ณ ที่ทำการบริษัท (on-site inspection) เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของไวรัส
โควิด 19 และใช้เทคโนโลยีเข้าร่วมในการตรวจสอบ
มาตรการที่ 10 ผ่อนผันให้บริษัทสามารถขออนุญาตปิดที่ทำการติดต่อกับประชาชนบางพื้นที่หรือบางสาขา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19
ด้านนายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ทางสมาคมประกันวินาศภัยไทย
เห็นด้วยกับการที่สำนักงาน คปภ. ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาภาคอุตสาหกรรมประกันภัย โดยในช่วงที่มีการระบาดของโรคในระยะแรก ทุกภาคส่วนมีความห่วงใยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และได้ร่วมกันหารือ
เพื่อออกมาตรการต่าง ๆ เพราะการระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ไม่ได้กระทบเฉพาะในส่วนของผู้บริโภค แต่ยังรวมถึงผู้ประกอบการด้วย ซึ่งการประชุมในวันที่ 12 มีนาคม 2563 ได้มีการหารือมาตรการในการบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับการผ่อนผันและมีแผนรองรับในการให้บริการประชาชน
ได้อย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการช่วยเหลือเยียวยาแบบครบวงจร
ด้านนายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย ให้ความเห็นว่า ในฐานะผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทย ขอขอบคุณ สำนักงาน คปภ.ที่ออกมาตรการด้านประกันภัยในมิติต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ สำนักงาน คปภ.ได้มีการปรับเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยไทยด้วยการเปิดกว้างให้บริษัทประกันภัยสามารถลงทุนได้หลากหลายสอดคล้องกับลักษณะของความเสี่ยงและภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัย ทำให้
ภาคธุรกิจประกันภัยปรับการลงทุนให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจกันบ้างแล้ว ดังนั้น การออกมาตรการด้านประกันภัย เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและภาคธุรกิจประกันภัยรวมไปถึงภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ทางสมาคมประกันชีวิตไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า การบริหารต้นทุนของภาคธุรกิจ
ถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น หากสำนักงาน คปภ. พิจารณามาตรการด้านการบริหารต้นทุน หรือการบังคับใช้กฎเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชี ไปด้วย ก็จะสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
“สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นอย่างยิ่ง จึงได้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนมาตรการด้านประกันภัยในการช่วยเหลือและเยียวยาประชาชน และภาคธุรกิจอย่างเต็มที่ การประชุมครั้งนี้ เป็นการเติมเต็มมาตรการเสริมจากมาตรการที่เคยออกไปก่อนหน้านี้ โดยในครั้งนี้มุ่งไปที่การเยียวยาภาคธุรกิจประกันภัยและธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ขอย้ำว่ามาตรการที่กำหนดทุกมาตรการเป็นมาตรการระยะสั้น ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความยืดหยุ่นเพื่อรองรับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งสำนักงาน คปภ.จะ monitor สถานการณ์และ
ความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะทบทวนมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
No comments:
Post a Comment