หัวเว่ยจัดงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “5G นำความก้าวหน้า” - Thailand Smart Content

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, October 25, 2022

หัวเว่ยจัดงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “5G นำความก้าวหน้า”








หัวเว่ยจัดงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 13 ในประเทศไทย

ภายใต้หัวข้อ “5G นำความก้าวหน้า”

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - หัวเว่ยเปิดฉากการประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ครั้งที่ 13 โดยนายเคน หู ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า “เทคโนโลยี 5G เติบโตอย่างรวดเร็ว ในเวลาเพียง 3 ปี เราเห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจนด้านการติดตั้งเครือข่าย, การให้บริการลูกค้าและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ”

เขากล่าวเสริมว่า “เมื่อ 5G รุดหน้าอย่างรวดเร็ว เราควรภาคภูมิใจกับความสำเร็จที่ผ่านมา แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่เราสามารถร่วมมือกันในการดึงศักยภาพของ 5G เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุด เพื่อขยายไปสู่การบริการด้านต่างๆ เช่น คลาวด์และการพลิกโฉม ระบบ เราจะร่วมขับเคลื่อนทั้งการพัฒนา 5G, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการเติบโตของอุตสาหกรรมไอซีทีไปพร้อมกัน”

นายเคน หู ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในงาน MBBF

จากข้อมูลเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ผู้ให้บริการเครือข่ายมากกว่า 230 รายทั่วโลกได้เปิดตัวบริการ 5G เชิงพาณิชย์ โดยอุตสาหกรรมมีการจัดตั้งสถานีฐาน 5G รวมกันมากกว่า 3 ล้านแห่ง และให้บริการสมาชิกมากกว่า 700 ล้านรายทั่วโลก สำหรับธุรกิจโทรคมนาคม ผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างรายได้หลักของธุรกิจจากการให้บริการ แต่เมื่อเทคโนโลยี 5G แพร่หลายมากขึ้น การมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าด้วยพลังที่เหนือระดับของ 5G ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณการรับส่งวิดีโอความละเอียดสูงเติบโตอย่างรวดเร็ว แอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยี 5G ความเร็วสูงที่มีค่าความหน่วงต่ำส่งผลให้ปริมาณการดูข้อมูลโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้ (DOU) เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และเพิ่มอัตราเฉลี่ยค่าบริการต่อผู้ใช้งาน (ARPU) ขึ้น 20%-40% ส่งผลให้รายได้ด้านบริการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการเครือข่ายเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในธุรกิจ B2B กลายเป็นกลไกสร้างการเติบโตของรายได้ของผู้ให้บริการเครือข่าย สร้างมูลค่ามหาศาลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น น้ำมันและก๊าซ การผลิต และการขนส่ง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเหล่านี้กลายเป็นนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจอย่างมหาศาลให้กับผู้ให้บริการเครือข่าย ในปี พ.ศ. 2564 ผู้ให้บริการเครือข่ายของจีนสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่กว่า 3.4 พันล้านหยวน (ประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากโครงการ 5G เชิงอุตสาหกรรมมากกว่า 3,000 โครงการ ยิ่งไปกว่านั้น โครงการเหล่านี้ยังสร้างรายได้มากขึ้นอีก 10 เท่าจากการประยุกต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและบริการด้านไอซีทีแบบครบวงจร



การใช้ 5G ในธุรกิจ B2B จะกลายเป็นกระแสรายได้ที่เติบโตเร็วที่สุดสำหรับผู้ให้บริการ 5G ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ใหม่ในอุตสาหกรรมบริการ, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ปูทางสู่โอกาสการเติบโตที่ไม่เคยมีมาก่อน “เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโต เราต้องลงมือทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จ” นายเคน หู กล่าวย้ำ



พัฒนาเครือข่ายเพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

นอกเหนือจากการขยายความครอบคลุมแล้ว ควรปรับการพัฒนาเครือข่ายให้เข้ากับประสบการณ์ผู้ใช้แบบต่างๆ อย่างลงตัว เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศจีนปรับเครือข่ายให้สอดคล้องกับการใช้แพลตฟอร์ม TikTok และแพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมอื่น ๆ โดยลดความหน่วงของระยะเวลาการตอบสนองลง 50% และลดการแสดงภาพค้างลง 90% เพิ่มประสบการณ์การรับชมวิดีโอที่ราบรื่นยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นสองเท่าและดึงดูดผู้ใช้บริการ 5G รายใหม่มากขึ้น



ขับเคลื่อนการพัฒนา 5.5G

ในการผลักดัน 5G ให้ก้าวไปอีกขั้น หัวเว่ยร่วมมือกับผู้ให้บริการและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาฟีเจอร์สำคัญสี่ประการสำหรับ 5.5G ซึ่งจะเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อไปของ 5G ได้แก่ อัตราดาวน์ลิงค์ 10 Gbps, อัปลิงค์ 1 Gbps, รองรับการเชื่อมต่อ 100 พันล้านรายการและคลาวด์ Native Intelligence

“ผู้เล่นในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันเพื่อกำหนดมาตรฐาน, เตรียมความพร้อมด้านคลื่นความถี่และฟูมฟักอีโคซิสเต็มไปด้วยกัน” นายเคน หู กล่าวเสริม



ขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดของ 5G

เทคโนโลยี 5G ให้ความเร็วสูงพร้อมค่าความหน่วงต่ำ ผสานกันอย่างไร้รอยต่อกับคลาวด์และ AI เพื่อมอบบริการใหม่สำหรับผู้บริโภคและธุรกิจต่าง ๆ ผู้ให้บริการสามารถมอบประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นเฉพาะบุคคล เช่น Extended Reality (XR), การเล่นเกมบนคลาวด์และบริการโทรศัพท์ให้กับผู้บริโภค และมอบโซลูชันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลขององค์กรที่ครอบคลุมกว่าที่เคย มุ่งสู่การเปิดกระแสรายได้ใหม่โดยเพิ่มโอกาสการเติบโตของผู้ให้บริการเครือข่ายให้รุดหน้าไปไกลกว่าการเชื่อมต่อ และมุ่งสู่บริการคลาวด์และการบูรณาการระบบเต็มรูปแบบ

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมเป็นคลื่นลูกใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจโลก และ 5G เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและช่วยเปิดโอกาสใหม่ทั่วโลก ทุกฝ่ายในอีโคซิสเต็มไอซีทีต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันโอกาสเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด “ความร่วมมือที่แข็งแกร่งจะขับเคลื่อนการพัฒนาเครือข่าย 5G รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมโดยรวมให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด” นายเคน หู กล่าวสรุป








เจมส์ เฉิน ประธานฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายของหัวเว่ย ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในงาน

นำทรัพยากรด้านเครือข่ายมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อความสำเร็จของ 5G เชิงพาณิชย์

เจมส์ เฉิน ประธานฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายของหัวเว่ย (Huawei Carrier BG) กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ‘ก้าวอย่างมั่นคงสู่ความสำเร็จของ 5G’ (Making Strides Towards 5G Success) ว่า “เราเห็นเทคโนโลยี 5G ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดเราต้องเร่งการติดตั้งและใช้ประโยชน์จากทุกย่านความถี่, ทุกหน่วยความถี่, และทุกวัตต์ เรามุ่งนำ 5G จากแบรนด์ชั้นนำและเทคโนโลยีชั้นนำมาพัฒนาสู่ประสบการณ์ชั้นนำและธุรกิจชั้นนำ และเราจะสร้างความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของ 5G ให้ได้”

เจมส์ เฉิน อธิบายถึงการใช้ 5G ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเครือข่าย 5G จะเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า ให้ความเร็วมากกว่า 1 Gbps และผู้ใช้ 5G ยังใช้ข้อมูลได้มากกว่า 4G ถึงสองเท่า หรือมากกว่า 20 GB ต่อเดือน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายสามด้านด้วยกัน คือประสบการณ์ผู้ใช้, การเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IoT), และการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม

สร้างรายได้จากการให้บริการประสบการณ์ผู้ใช้งานมากกว่าที่เคย เนื่องจากผู้ให้บริการเครือข่ายเปลี่ยนจากโมเดลธุรกิจที่อิงตามปริมาณการใช้งานเป็นหลัก เป็นการให้บริการเป็นหลัก โดยเสนอบริการ 5G ที่ปรับราคาตามปัจจัยอื่นเช่น ความเร็ว, ค่าความหน่วงต่ำและประสบการณ์การอัปลิงค์

การเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IoT) ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งบริการ IoT จากผู้บริโภครายย่อยและอุตสาหกรรม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ได้หนึ่งแสนล้านครั้ง

ระหว่างการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม 5G มอบบริการคุณภาพสูงและการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพ เช่น ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล (private line) และเครือข่ายที่ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายขยายธุรกิจสู่ตลาด B2B ด้วย การเติบโตของเทคโนโลยี 5G ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายเพิ่มบริการใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากการเชื่อมต่อ และเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่

ในช่วงท้ายของงานประชุม MBBF บริษัท โทรคมนาคม​แห่งชาติ​ ​จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท อินฟอร์เมชั่น แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด (มหาชน) และหัวเว่ย ยังได้ร่วมกันเปิดตัวสมุดปกขาวเกี่ยวกับเมือง 5G (5G City Whitepaper) ฉบับแรก รวมถึงได้เปิดตัวเมือง 5G อัจฉริยะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ภายในงานการประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ครั้งที่ 13 สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ONDE) ได้เป็นผู้นำในการพัฒนาสมุดปกขาวเกี่ยวกับเมือง 5G โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเตรียมแนวทางการสร้างเมือง 5G อย่างมีประสิทธิภาพและผสานเทคโนโลยี 5G เข้ากับชีวิตของผู้คนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ตอบสนองนโยบายของคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G ระดับชาติ ภายใต้นโยบายนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (National Telecom Public Company Limited – NT), หัวเว่ยและพันธมิตรในอุตสาหกรรมได้ริเริ่มสร้างเมือง 5G แห่งแรกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การติดตั้งเทคโนโลยี 5G จะทำให้เขตเมืองดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้บริการที่ชาญฉลาดหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยพัฒนาเรื่องการจัดการจราจรและการเข้าถึงข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยในเมือง และพัฒนาคุณภาพของสภาพอากาศด้วยการติดตามปริมาณของฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์



หัวเว่ย ร่วมกับ สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) และ Global TD-LTE Initiative (GTI) เปิดฉาก Global Mobile Broadband Forum 2022 รวบรวมผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย ผู้นำอุตสาหกรรมแนวดิ่ง และพันธมิตรอีโคซิสเต็มจากทั่วโลกร่วมหารือกลยุทธ์ผลักดัน 5G ให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์และถกประเด็นในหัวข้ออื่น ๆ เช่น การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีอัจฉริยะและวิวัฒนาการ 5G ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.huawei.com/en/events/mbbf2022



เกี่ยวกับหัวเว่ย 

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชันที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชันและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด



นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิค ใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด   

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad




Pages