บล.ไทยพาณิชย์แนะจับตาตลาดการเงินหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์มีความคาดหวังมากเกินไป - Thailand Smart Content

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, July 13, 2020

บล.ไทยพาณิชย์แนะจับตาตลาดการเงินหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์มีความคาดหวังมากเกินไป








บล.ไทยพาณิชย์แนะจับตาตลาดการเงินหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์มีความคาดหวังมากเกินไป

เน้นสร้างพอร์ตลงทุนแบบ defensive มองหุ้นมี story เกี่ยวกับการติบโต และความคาดหวังต่ำ

พร้อมมองข้ามช็อต SET Index ปี 2564 อยู่ที่ 1,430 จุด






บล.ไทยพาณิชย์มองตลาดการเงินหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์กลับสู่ภาวะเกือบเป็นปกติ ไม่มีภาพของ “easy returns” อีกต่อไป มอง SET Index มี upside จำกัด valuation ไม่สมเหตุสมผลเพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แม้ความเสี่ยงในระยะสั้นลดลง แต่ความไม่แน่นอนในระยะยาวยังมีอยู่ โดยยังคงมุมมองการลงทุนระมัดระวังต่อภาคบริการเนื่องจาก 3 ปัจจัย 1) การฟื้นตัวช้า 2) อัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง 3) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

กลยุทธ์การลงทุนในไตรมาสที่ 3/63 แนะนำสร้างพอร์ตลงทุนแบบ defensive เน้นหุ้นมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานและ story เกี่ยวกับการเติบโตรอบใหม่ และหุ้น cyclical ที่มีความคาดหวังต่ำ ได้แก่ ADVANC BBL BCH ERW HANA และ IVL ในขณะที่ยังคงเก็บหุ้น top picks ไตรมาส2/63 คือ BDMS BEM BTS และ CPF และประเมินเป้าหมายของ SET Index ในปี 2564 โดยอิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,430 จุด





นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า หลังจากที่ทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็กลับมาดำเนินอีกครั้งโดยเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางต่างๆทำให้กิจกรรมภาคการผลิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติในช่วง 4Q63 แต่ภาคบริการจะยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ คาดว่าความปกติรูปแบบใหม่ (new normal) จะเกิดขึ้นในช่วง 3Q64 สืบเนื่องมาจากการค้นพบวัคซีน ดังนั้นเชื่อว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยและยุโรปอาจจะฟื้นตัวช้ากว่าสหรัฐฯ และเอเชียเหนือซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากภาคบริการน้อยกว่า

ด้านตลาดการเงินมองว่าฟื้นตัวและกลับคืนสู่ภาวะเกือบเป็นปกติแล้ว ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงด้านเครดิตปรับตัวลดลงโดยได้รับการสนับสนุนของธนาคารกลาง ควบคู่กับ fund flow และ credit spread ที่เริ่มมีเสถียรภาพโดยมองว่า downside มีจำกัด เนื่องจากตลาดกลับคืนสู่ภาวะปกติ ดังนั้นเราจะเห็นการ rotation ไปยังหุ้นคุณค่า (value stock) และหุ้นวัฏจักร (cyclical stock) และภาพของ “easy returns” จะไม่มีเห็นอีกต่อไป





กลยุทธ์การลงทุนไตรมาสที่ 3/63 ยังคงเน้น Defensive ด้านเศรษฐกิจไทยจะยังคงเติบโตอย่างช้าๆ ในระยะ 1-3 ปี ข้างหน้า ดังนั้น สำหรับพอร์ตลงทุนหลักระยะยาวจึงแนะนำให้เข้าซื้อหุ้น defensive ที่มีคุณภาพสูง เช่น กลุ่มสินค้าจำเป็น และกลุ่มการแพทย์ แม้การ rotation ไปยังกลุ่มหุ้น cyclical ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป น่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราแนะนำกลุ่มที่มีความคาดหวังต่ำ เช่น พลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคาร


ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต แม้เราคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยจะทำจุดต่ำสุดใน 2Q63 แต่เมื่อมองต่อไปข้างหน้าอาจจะมีความเสี่ยง downside บางอย่างที่จะส่งผลกระทบทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง 3 ประการ ได้แก่ 1. การลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ในระยะหลังนี้ตลาดการเงินทั่วโลกเปลี่ยนมาอยู่ในภาวะ risk-on เนื่องจาก Fed ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ 0% และดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดวงเงิน 2. การระบาดรอบสองของไวรัส COVID-19 โดยสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับการระบาดรอบสอง ในช่วงกลางเดือนมิ.ย. รัฐเท็กซัส ฟลอริดา แคลิฟอร์เนีย และอริโซนา รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด การพบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นมากทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวล 3. ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งเชื่อว่าความเสี่ยงใหม่กำลังก่อตัวขึ้นและอาจกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต ทั้งประเด็นการค้าที่สหรัฐบีบให้จีนนำเข้าเพิ่มขึ้่น ประเด็นเทคโนโลยีที่ต่ออายุการแบน Huawei และ ZTE อีก 1 ปี และประเด็นเงินทุนที่สภาผ่านร่างกฎหมายที่ให้อำนาจสหรัฐในการเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัทจีนจากตลาดหลักทรัพย์หากไม่ทำตามข้อกำหนดสหรัฐ


แนะนำเน้นเลือกซื้อหุ้นรายตัวใน 3Q63 SCBS ให้ความสำคัญกับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานและ story เกี่ยวกับการเติบโตรอบใหม่มากกว่าการปรับเพิ่ม valuation ดังนี้

· พอร์ตลงทุนแบบ defensive ซึ่งประกอบด้วย top picks จาก 2Q63 (BDMS BEM BTS และ CPF) และหุ้น defensive ใหม่ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด (ADVANC BCH)

· พอร์ตลงทุนเชิงกลยุทธ์ (tactical portfolio) จะมุ่งเน้นหุ้นที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจโลกและวัฏจักรเศรษฐกิจในประเทศที่มีคุณภาพดี เช่น BBL ERW IVL และ HANA


เน้นสร้างพอร์ตลงทุนแบบ defensive มองหุ้นมี story เกี่ยวกับการติบโต และความคาดหวังต่ำ

พร้อมมองข้ามช็อต SET Index ปี 2564 อยู่ที่ 1,430 จุด


บล.ไทยพาณิชย์มองตลาดการเงินหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์กลับสู่ภาวะเกือบเป็นปกติ ไม่มีภาพของ “easy returns” อีกต่อไป มอง SET Index มี upside จำกัด valuation ไม่สมเหตุสมผลเพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แม้ความเสี่ยงในระยะสั้นลดลง แต่ความไม่แน่นอนในระยะยาวยังมีอยู่ โดยยังคงมุมมองการลงทุนระมัดระวังต่อภาคบริการเนื่องจาก 3 ปัจจัย 1) การฟื้นตัวช้า 2) อัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง 3) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

กลยุทธ์การลงทุนในไตรมาสที่ 3/63 แนะนำสร้างพอร์ตลงทุนแบบ defensive เน้นหุ้นมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานและ story เกี่ยวกับการเติบโตรอบใหม่ และหุ้น cyclical ที่มีความคาดหวังต่ำ ได้แก่ ADVANC BBL BCH ERW HANA และ IVL ในขณะที่ยังคงเก็บหุ้น top picks ไตรมาส2/63 คือ BDMS BEM BTS และ CPF และประเมินเป้าหมายของ SET Index ในปี 2564 โดยอิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,430 จุด


นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่า หลังจากที่ทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็กลับมาดำเนินอีกครั้งโดยเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัว ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางต่างๆทำให้กิจกรรมภาคการผลิตจะกลับคืนสู่ภาวะปกติในช่วง 4Q63 แต่ภาคบริการจะยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ คาดว่าความปกติรูปแบบใหม่ (new normal) จะเกิดขึ้นในช่วง 3Q64 สืบเนื่องมาจากการค้นพบวัคซีน ดังนั้นเชื่อว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยและยุโรปอาจจะฟื้นตัวช้ากว่าสหรัฐฯ และเอเชียเหนือซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากภาคบริการน้อยกว่า

ด้านตลาดการเงินมองว่าฟื้นตัวและกลับคืนสู่ภาวะเกือบเป็นปกติแล้ว ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงด้านเครดิตปรับตัวลดลงโดยได้รับการสนับสนุนของธนาคารกลาง ควบคู่กับ fund flow และ credit spread ที่เริ่มมีเสถียรภาพโดยมองว่า downside มีจำกัด เนื่องจากตลาดกลับคืนสู่ภาวะปกติ ดังนั้นเราจะเห็นการ rotation ไปยังหุ้นคุณค่า (value stock) และหุ้นวัฏจักร (cyclical stock) และภาพของ “easy returns” จะไม่มีเห็นอีกต่อไป


กลยุทธ์การลงทุนไตรมาสที่ 3/63 ยังคงเน้น Defensive ด้านเศรษฐกิจไทยจะยังคงเติบโตอย่างช้าๆ ในระยะ 1-3 ปี ข้างหน้า ดังนั้น สำหรับพอร์ตลงทุนหลักระยะยาวจึงแนะนำให้เข้าซื้อหุ้น defensive ที่มีคุณภาพสูง เช่น กลุ่มสินค้าจำเป็น และกลุ่มการแพทย์ แม้การ rotation ไปยังกลุ่มหุ้น cyclical ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป น่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราแนะนำกลุ่มที่มีความคาดหวังต่ำ เช่น พลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคาร


ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต แม้เราคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยจะทำจุดต่ำสุดใน 2Q63 แต่เมื่อมองต่อไปข้างหน้าอาจจะมีความเสี่ยง downside บางอย่างที่จะส่งผลกระทบทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง 3 ประการ ได้แก่ 1. การลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ในระยะหลังนี้ตลาดการเงินทั่วโลกเปลี่ยนมาอยู่ในภาวะ risk-on เนื่องจาก Fed ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ 0% และดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดวงเงิน 2. การระบาดรอบสองของไวรัส COVID-19 โดยสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับการระบาดรอบสอง ในช่วงกลางเดือนมิ.ย. รัฐเท็กซัส ฟลอริดา แคลิฟอร์เนีย และอริโซนา รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด การพบผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นมากทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวล 3. ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งเชื่อว่าความเสี่ยงใหม่กำลังก่อตัวขึ้นและอาจกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต ทั้งประเด็นการค้าที่สหรัฐบีบให้จีนนำเข้าเพิ่มขึ้่น ประเด็นเทคโนโลยีที่ต่ออายุการแบน Huawei และ ZTE อีก 1 ปี และประเด็นเงินทุนที่สภาผ่านร่างกฎหมายที่ให้อำนาจสหรัฐในการเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัทจีนจากตลาดหลักทรัพย์หากไม่ทำตามข้อกำหนดสหรัฐ

แนะนำเน้นเลือกซื้อหุ้นรายตัวใน 3Q63 SCBS ให้ความสำคัญกับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานและ story เกี่ยวกับการเติบโตรอบใหม่มากกว่าการปรับเพิ่ม valuation ดังนี้

· พอร์ตลงทุนแบบ defensive ซึ่งประกอบด้วย top picks จาก 2Q63 (BDMS BEM BTS และ CPF) และหุ้น defensive ใหม่ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด (ADVANC BCH)

· พอร์ตลงทุนเชิงกลยุทธ์ (tactical portfolio) จะมุ่งเน้นหุ้นที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจโลกและวัฏจักรเศรษฐกิจในประเทศที่มีคุณภาพดี เช่น BBL ERW IVL และ HANA


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad




Pages