รับมือส่งออก! จุรินทร์ นำพาณิชย์ จัด THAIFEX–ANUGA ASIA 2020 แบบ “The Hybrid Edition” นำอาหารไทยสู่ตลาดโลก พร้อมจับมือ 4 กระทรวง MOU มาตรฐานความปลอดภัยอาหารจากโควิด-19
22กันยายน 2563 13.30 น.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน จัดงานแสดงสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มTHAIFEX–ANUGA ASIA 2020 โดยปีนร้เป็นไปตามนโยบายนายจุรินทร์ คือ จัดในรูปแบบผสมผสาน (หรือ Hybrid) เป็นครั้งแรกของ ประเทศไทย ตอบรับสถานการณ์การค้าวิถีใหม่ (New Normal) เป็นงาน THAIFEX–ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition”
โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า ปี 2563 เป็นปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน กิจกรรมหลายๆ อย่างต้องหยุดชะงักหรือชะลอตัว แม้แต่อุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เคยเติบโต ก็ได้รับผลกระทบ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังต้อง เผชิญกับสถานการณ์สงครามการค้า เศรษฐกิจชะลอตัว ความผันผวนของค่าเงินบาท ดังนั้น การ ปรับตัวทางเศรษฐกิจและการปรับตัวทางการค้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็น เรื่องที่มีความสาคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าให้กับฐานราก โดยเฉพาะใน ส่วนของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอี โอท็อป รวมทั้งไมโครเอสเอ็มอีต่างๆ ที่อยู่ในทุกภาคส่วน ของภูมิภาค กระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นความจาเป็นที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยนา แนวนโยบาย “เกษตรผลิต พําณิชย์ตลําด” ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนํากํารผลิต” ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างสองกระทรวงสาคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับพื้นฐานของประเทศ จนก้าวสู่ตลาดโลก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงพาณิชย์ สร้างฐานข้อมูล Big Data ร่วมกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้วยคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยและการตรวจสอบย้อนกลับ มุ่งสู่ เป้าหมายให้ไทยเป็น “ศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก” โดยการค้าภายในประเทศ จะมีเซลส์แมนจังหวัดทาหน้าที่ขยายตลาดและหาช่องทางการจาหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการ ทางานเป็นทีมระหว่างพาณิชย์จังหวัด จับมือกับเกษตรกร ผู้ประกอบธุรกิจ ภาคเอกชน และภาครัฐที่ เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสการค้าและช่องทางการเข้าสู่ตลาดของสินค้าและผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรและ ผู้ประกอบการไทย
ด้านการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มีกลไกในการเชื่อมโยงตลาดโลกและ ผู้ประกอบการไทยให้มาเจอกัน ผ่านสานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ซึ่งได้กระจายที่ตั้ง ครอบคลุมตลาดคู่ค้าหลักๆ และตลาดที่มีศักยภาพทั่วโลก จานวน 58 แห่ง มีเซลส์แมนประเทศ เปรียบเสมือนทัพหน้าที่จะกรุยทางให้ผลผลิตจากเกษตรกร ผลิตภัณฑ์อาหารจากผู้ผลิตก้าวสู่ตลาด ต่างประเทศอย่างมั่นคง สร้างโอกาสในการแข่งขัน รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและ ผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดสาคัญ ได้มีนโยบายเร่งรัดผลักดันการส่งออกภายใต้แนวทาง “รักษําและขยํายตลําดเดิม เปิดตลําดใหม่ ฟื้นตลําดเก่ําที่เคยเป็นตลําดสําคัญ” โดยมีคณะผู้บริหาร ระดับสูงเดินทางไปทาความตกลงทางการค้า(MOU) และจับคู่ธุรกิจกับนานาประเทศทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป และตะวันออกกลาง เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ผมได้เล็งเห็นลู่ทางการรักษาส่วนแบ่งทาง การตลาดของประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการผลักดันแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่กระทรวง พาณิชย์มีอยู่ จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ รวมถึงร่วมมือกับแพลตฟอร์มต่างชาติ เช่น อาลีบาบาของจีน
ในส่วนของอุตสาหกรรม อาหารนั้นแม้จะมีเหตุการณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการผลิตและส่งออกอาหารใน ต่างประเทศ แต่ประเทศไทยสามารถให้ความมั่นใจกับผู้บริโภคทั่วโลกได้ว่า อาหารไทยปลอดภัย ปราศจากเชื้อในกระบวนการผลิต จนรัฐบาลไทยสามารถออกหนังสือรับรองการปฏิบัติตามมาตรการ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออกให้กับผู้ผลิตอาหาร เพื่อแสดงต่อผู้ซื้อและผู้นาเข้าในต่างประเทศ ซึ่งหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย โดยผมได้มอบให้ท่านปลัดทั้ง 4 กระทรวงเป็นผู้ลงนามความร่วมมือในวันนี้ เพื่อรับรองการปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID- 19 Prevention Best Practice) สำหรับงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม THAIFEX จึงมีส่วนสาคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งงานนี้เป็นงานสาคัญที่กรมส่งเสริมการค้า ระหว่างประเทศ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 30
" สาหรับการจัดงานในปีนี้ ได้มีการปรับชื่องานเป็น THAIFEX – ANUGA ASIA ซึ่งเป็น การรวมตัวกันระหว่าง 2 งานที่ยิ่งใหญ่ คือ THAIFEX ของประเทศไทย และ ANUGA จากเยอรมนี และ ยังเป็นปีแรกที่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานให้เป็นแบบไฮบริด (Hybrid) เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ ไวรัสโควิด-19 ซึ่งต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานได้ โดยใช้ชื่องานว่า THAIFEX – ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition” โดยเป็นการผสมผสานการจัดงานระหว่างออฟไลน์และเทคโนโลยี ออนไลน์ การจัดงานครั้งนี้ จะเป็นการช่วยกระตุ้นตั้งแต่สินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่มของไทยให้ฟื้นตัวกลับมา พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่น และเน้นย้าให้ทั่วโลกได้เห็นถึง ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยในเรื่องความปลอดภัย และยังสามารถผลิตและ ส่งออกได้ในปริมาณที่เพียงพอสาหรับการบริโภคในโลก ซึ่งแม้ว่าจะมีเรื่องโควิด-19 มากระทบ แต่เรา ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าแบบออฟไลน์รวม 708 บริษัท 1,747 คูหา ผมมั่นใจว่าการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบผสมผสาน (หรือ Hybrid) เป็นครั้งแรกของ ประเทศไทย จะตอบรับสถานการณ์การค้าวิถีใหม่ (New Normal) ของงานแสดงสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มTHAIFEX–ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition”ครั้งนี้และจะประสบ ความสาเร็จเป็นอย่างดี และผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคาดว่าจะได้มูลค่ามากกว่า 6000 ล้านบาท" นายจุรินทร์ กล่าง
รายงานข่าวกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า มีการจัดงานแสดงสินค้าจริง ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพคแห่งนี้ วันที่ 22-26 กันยายน ระหว่างผู้เข้าร่วมงาน (Exhibitors) และผู้ชมงานในไทยที่ประกอบด้วย นักธุรกิจในวงการอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ในไทย 51,869 กิจการ รวมถึงตัวแทนผู้ซื้อจากต่างประเทศ (Buying Agents) ที่มีสานักงานในไทย และการจัด กิจกรรมเจรจาการค้าออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง หรือ Virtual Trade Show ระหว่างผู้เข้าร่วมงาน (Exhibitors) กับผู้ซื้อ ผู้นาเข้าต่างประเทศ (Importers) ที่ไม่ สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้เป็น ผู้ประกอบการไทย519 บริษัทและตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของผู้ประกอบการต่างชาติจาก12 ประเทศ ได้แก่ บราซิล แคนาดา จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี นอร์เวย์ โปแลนด์ ไต้หวัน อเมริกา และเวียดนาม รวม 189 บริษัท บนพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร ซึ่งมีการใช้มาตรการการดูแลสุขอนามัย ของผู้เข้าร่วมงานอย่างเคร่งครัด
No comments:
Post a Comment